วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปัญหาเด็กติดเกมเเละวิธีการเเก้ปัญหา


          คอมพิวเตอร์มีคุณประโยชน์มากมาย ถ้าใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันถ้าพ่อแม่ไม่ควบคุมการใช้ โดยเฉพาะการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็อาจมีโทษมหันต์ต่อลูกได้ การสร้างความเข้าใจระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหา การศึกษาสาเหตุของการติดเกมของลูกซึ่งอาจจะไม่ได้มากจากลูกเพียงอย่างเดียว บางครอบครัวพ่อแม่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกติดเกม การเลือกหาวิธีเพื่อการแก้ไขปัญหาก็ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย ดังนี้
  • สาเหตุที่เกิดจากผู้ปกครอง พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เด็กเล่นเกม หรือคอมพิวเตอร์ให้แน่ชัดลงไปเป็นเวลาที่แน่นอนหรือกำหนดว่ากี่ชั่วโมง พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจในเนื้อหาและรายละเอียดของเกมที่ลูกเล่น หรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแบ่งชนิดของเกมตามความเหมาะสมของอายุของผู้เล่นตามที่กำหนด เด็กส่วนใหญ่เล่นเกมหลังเวลาเลิกเรียน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองยังไม่เลิกงาน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลลูก
  • สาเหตุที่เกิดจากตัวเด็กเอง เด็กอาจเล่นเกมเกินเวลากว่าที่ตั้งใจไว้ หรือเล่นเพราะมีสังคมเพื่อนอีกกลุ่มที่รอคอยการพูดคุยสนทนาถึงความก้าวหน้าของการเล่นเกมที่จะแข็งขันของระดับความยากของเกมซึ่งเป็นการสร้างความภาคภูมิใจหากมีระดับความยากที่สูงหรือมีแต้มคะแนนที่สูงกว่าเพื่อน
  • สาเหตุความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มีรูปแบบ เนื้อหา แสง เสียง วิธีการ ความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ในเทคนิคต่างๆ ทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ เหมือนจริงมากขึ้นและในบางครั้งก็เกินความเป็นจริงมากเกินไป เหมือนเป็นการสร้างจินตนาการเพ้อฝันให้เด็กลุ่มหลง เนื้อหาของเกมในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นเรื่องสมมติและจินตนาการ ไม่ค่อยมีความรุนแรงเกี่ยวข้องกับมนุษย์ กลายเป็นเรื่องราวที่มีความรุนแรงและเหมือนชีวิตจริงมากขึ้น และที่สำคัญกว่านั้นคือ มีการให้รางวัลหรือการได้รับการยกย่องชมเชยเมื่อมีการกระทำที่ผิดกฎเกณฑ์ ต่อต้านสังคมหรือผิดกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม                                                                                                                                                                             เเหล่งที่มา                        http://taamkru.com/th/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1/
เกมส์: ประเภท และ ความนิยมในหมู่เด็ก





ประเภทของเกมแบ่งตามลักษณะการเล่น
  1. Long term หมายถึงเกมที่มีเนื้อเรื่องยาว หรือมีฉากต่อกันและต้องเล่นให้ผ่านไปฉากต่อไปเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เกม RPG - FinaFantasy Tales Rockman เกมตะลุยด่าน Mario Rockman DarkCloud
  2. Casual เกมที่ไม่เน้นว่าจะต้องเล่นตามเนื้อเรื่อง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ มักจะจบเป็นฉากต่อฉากไม่ต่อกัน หรืออาจจะไม่มีการผ่านฉาก มีแค่ฉากเดียวแต่จะเพิ่มความยากจนถึงระดับที่ผู้เล่นจะแพ้ไปเอง ตัวอย่างเช่น เกมPuzzle - เกมเต้น เกมแฟลช Tetris หรือเกม Strategy เกม Fighting เช่น DotA
  3. Real time เป็นกฎการแบ่งเวลา ให้การเคลื่อนไหวในเกมเป็นการเคลื่อนไหวตามเวลาจริง ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ เกม Action/Adventure หรือ Fighting ที่เน้นการควบคุมอย่างสมจริง เหมาะกับเกมที่เน้นการตอบสนองหรือการมีทักษะ
  4. Turn base เป็นกฏการแบ่งเวลา ที่ให้เวลาของเกมไม่อิงกับความเป็นจริง โดยจะมีการหยุดพักให้ผู้เล่นได้คิด เลือก ตัดสินใจทำอะไรในส่วนที่กำหนดไว้ และวางแผนจัดการสิ่งที่ต้องทำ ตัวอย่างเกมประเภทนี้ เช่น เกมกระดานอย่างหมากรุกและเกม Tactics หรือเกม RPG อย่างเช่นไฟนอลแฟนตาซี เกม Strategy อย่าง Heroes of Might and Magic

เเหล่งที่มา  https://www.gotoknow.org/posts/304995
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกม
       
               

ปัญหาเด็กติดเกม นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอดีตผู้ตกเป็นเหยื่อของเกมส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นที่ได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ฟุ่มเฟือย เหม่อลอย การเรียนตกต่ำ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หนักที่สุดก็แสดงความก้าวร้าวหรือมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยใช้ความรุนแรง ล่าสุด เด็กนักเรียนม.6 ฆ่าคนขับรถแท็กซี่ตาย โดยวางแผนมาอย่างดี และอ้างว่าเลียนแบบเกมออนไลน์ ผลกระทบอันเนื่องมาจากเด็กติดเกม หากมองให้ลึกซึ้งถึงรากเหง้าของปัญหาอาจไม่ใช่แค่เพราะ เด็กติดเกม แต่เป็นเพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ขาดวิจารณญาณในการเลือก และที่สำคัญผู้ผลิตขาดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเกมบางเกมที่ผู้ผลิตคิดและสร้างสรรค์มาอย่างดี มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้ เสริมสร้างพัฒนาการทั้งทางจิตใจและสังคม เป็นเกมสีขาวที่น่าส่งเสริมให้เด็กๆ เล่น แต่เกมไม่สร้างสรรค์กลับมีปริมาณมากมายกว่าเกมสีขาวหลายเท่าตัว แถมยังหาเล่นง่าย ราคาไม่แพง และตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่

-ปัญหาอาชญากรรม เช่น การลักขโมยเพื่อนำเงินไปเล่นเกม การบังคับขูดรีดเงินจากคนที่อ่อนแอกว่าเพื่อนำเงินไปเล่นเกมส์
-ปัญหาการค้ามนุษย์ คือ การที่เด็กต้องเข้าสูการขายบริการทางเพศ หรือการขอทานเพื่อนำเงินมาเล่นเกม
-ปัญหาความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา เมื่อเด็กติดเกมแล้ว ถ้าเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะแยกแยะเรื่องจริง และเกม อานำความรุนแรงจากเกมมาใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตจริง
-โดนล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะออกไปเล่นนอกบ้าน และบางเกมยังมีการแชทได้ด้วย ทำให้มีการนัดแนะ และก่อให้การหลอกลวงไปล่วงละเมิดทางเพศ
-ปัญหาการติดสารเสพติดและยาเสพติด เนื่องจากมีการคบเพื่อนที่หลากหลายมาขึ้น อาจเป็นทั้งผุ้เสพ หรือค้ายาเพื่อนำเงินมาเล่นเกม

เเหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/304995

ครอบครัว ภูมิคุ้มกันเด็กติดเกม





เด็กติดเกมกลายเป็นปัญหาของสังคมในปัจจุบัน ที่หลายครอบครัวกำลังประสบและไม่รู้จะแก้ปัญหาเรื้อรังนี้อย่างไรเด็กติดเกม ตามคำนิยามศัพท์ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการเล่นเกมสูง เล่นวันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน และให้ความสนใจกับเกมมากกว่าสิ่งอื่นๆ เช่น ครอบครัว การบ้าน กีฬา หรือสุขภาพของตนเอง เป็นต้น

           สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวที่มีเด็กติดเกมทั้งด้านบวกและด้านลบ คณะผู้วิจัยพบว่า ปัจจัยหลักที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเด็กติดเกม คือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลลูก ปัจจัยส่งเสริม คือ ตัวของเด็กที่ต้องการการยอมรับจากเพื่อนๆ จากการได้อวดว่า
เล่นเกมในระดับที่สูงขึ้น ยากขึ้นได้ ส่วนผู้ปกครองที่ใช้วิธีการลงโทษที่แตกต่างกันไป เช่น งดดูโทรทัศน์ งดเล่น
คอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ ให้ช่วยเหลืองานบ้าน ท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ผลจากการลงโทษด้วยวิธีนี้ เด็กจะไม่มีการต่อต้านและจะมีสำนึกยอมรับการลงโทษนั้นแต่โดยดี

     จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า แนวทางที่จะสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมการติดเกมของเด็กได้ คือสร้างความสนใจในกิจกรรมอื่นที่สามารถแบนความสนใจของเด็กได้โดยต้องส่งเสริมให้เด็กหันมาให้เวลากับกิจกรรมอื่นๆ แทนการเล่นเกม เช่น การวาดภาพ เล่นดนตรี การท่องคำศัพท์ เล่นกีฬา หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งผู้ปกครองสามารถส่งเสริมให้เด็กไปแข่งขันหรือเข้าประกวดได้ คณะผู้วิจัยย้ำว่าวิธีการดังกล่าวข้างต้นสามารถลดพฤติกรรมการติดเกมของเด็กได้เป็นอย่างดีและยังช่วยลดช่องว่างของผู้ปกครองกับเด็กได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากทั้งเด็กและผู้ปกครองมีความใกล้ชิดและมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันมากขึ้นสำหรับโรงเรียนควรจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมไม่ให้เด็กหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกม และทางรัฐบาลควรจะจัดบริการทางสังคมในแง่กิจกรรมทางเลือก เช่น ลานกีฬา ห้องสมุด สวนสาธารณะให้เพียงพอและและเข้าถึงได้ง่าย

เเหล่งที่มา http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1029%3A2555-01-30-04-m-+++s&catid=239%3Aall-content&Itemid=270
การป้องกันของเด็กติดเกม

   




การป้องกัน  “ เด็กทุกคนมีโอกาสติดเกมได้  ป้องกันตั้งแต่เด็กเริ่มสนใจเกม 
การป้องกันสำคัญกว่าการรักษามาก  ควรคิดเสมอว่าเด็กมีโอกาสติดเกมทุกคน  การป้องกันเริ่มได้ตั้งแต่เด็กยังไม่ติดเกม   อาจเริ่มได้ตั้งแต่ขวบปีที่ 2  ฝึกให้รู้จักกติกาต่างๆในชุมชน
ทักษะพื้นฐาน   เด็กควรฝึกทักษะเหล่านี้ตั้งแต่เด็กๆ
การมีขอบเขต  ตามอายุ  เริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มหัดเดิน
การมีระเบียบวินัย  ไม่ตามใจเกินไป  ควรมีกติกาชัดเจน  มีการถ่ายทอดไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะเตือนตัวเอง  สำรวจตนเอง สติ
ทักษะการยั้งคิด  ไตร่ตรอง
ทักษะการวางแผน และทำตามแผนการด้วยตัวเอง
ทักษะการแบ่งเวลา 
ทักษะในการควบคุมตนเอง
ความสัมพันธ์ที่ดีพ่อแม่ลูก
1.ความใกล้ชิดสนิทสนมทีดี  จะช่วยให้เกิดการเชื่อฟัง  การยอมรับกัน  การมีเหตุผล
2.กิจกรรมภายในครอบครัว  ที่มีความเพลิดเพลิน ความสุขใจ  จะดึงเด็กไม่ให้ติดเกม
การจัดระเบียบในบ้าน
1.ก่อนซื้อเกม  กำหนดกติกาพื้นฐาน  ถ้าจะมีเกมในบ้าน  ต้องกำหนดเวลา และเงื่อนไขในการเล่น  เช่น เล่นได้หลังทำการบ้านเสร็จ  เล่นเกมได้ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 .(เวลาที่ใช้กับจอตู้ หรือจอโทรทัศน์ รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง
2.อย่าเปิดโอกาสให้เด็กเล่นโดยขาดการควบคุม
3.เบนความสนใจเด็กไปสู่เรื่องอื่น สร้างวงจรชีวิตที่เป็นสุขหลายแบบ Balanced activities   ทำให้สนุก ครอบครัวมีส่วนร่วม  มีความสมดุลในพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
4.สร้างความสนใจไปสู่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นที่ดี  เช่นกลุ่มกิจกรรม  ค่าย  กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์  ทัศนศึกษา   กีฬา
5.ถ้าจะอนุญาตให้เล่น  ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2  ชม( รวมทั้งเวลาดูโทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต)  ฝึกให้ แบ่งเวลา  วางแผนการใช้เวลาให้มีคุณภาพ  และทำได้จริงตามที่วางแผนไว้
6.กำกับให้เด็กทำตามกติกา
7.ถ้ามีการละเมิดกติกา  มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล
8.มาตรการจริงจัง  มีการคิดและวางแผนร่วมกันล่วงหน้าไว้แล้ว  

เเหล่งที่มา http://www.psyclin.co.th/new_page_46.htm
การช่วยเหลือเด็กติดเกม

การช่วยเหลือเมื่อเด็กติดเกมแล้ว
        

การช่วยเหลือเด็กติดเกมทำได้  ด้วยการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี แล้วตามด้วยวิธีการดังนี้

1.ตกลงกติกากันให้ชัดเจน  พยายามให้ลด หรือเลิก  ถ้าลด  ให้จัดเวลากันใหม่ลดเวลาเล่นลง
เช่น เดิมเล่นทุกวัน  วันละ 3  ชั่วโมง ลดลงดังนี้
สัปดาห์แรก  ให้เล่นวันละ 2  ชั่วโมง
สัปดาห์ที่ 2  ให้เล่นวันละ  1  ชั่วโมง
สัปดาห์ที่  3  ให้เล่นเฉพาะ  เสาร์-อาทิตย์  ไม่เกินวันละ 1  ชั่วโมง  
ถ้าเลิก  ให้จัดกิจกรรมทดแทนเวลาที่เคยเล่นทันที  กิจกรรมควรสนุกก่อนให้เด็กเพลิดเพลิน  เบนความสนใจไปจากเกม
2. การเอาจริงกับข้อตกลง  ด้วยสีหน้า  ท่าทาง
3.ตกลงทดลองปฏิบัติเป็นเวลาที่แน่นอน  เช่น  ทดลองปฏิบัติเป็นเวลา เดือน แล้วกลับมาประเมิน
4.กำหนดทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา  เช่น  ถ้าลูกไม่ทำตาม แม่จะทำอะไร  จะให้ช่วยอย่างไร 
5.มีการบันทึกผลการช่วยเหลือ  และนำมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ  ชมในเรื่องที่ได้ทำไปแล้วได้ผลดี 
6.ประเมินผลเมื่อครบเวลาที่ตกลงกันไว้
7.ปรับกติกากันใหม่ถ้ามีปัญหาความร่วมมือ  หรือทำไม่ได้
8.จูงใจให้อยากเลิกด้วยตนเอง
9.สร้างความสามารถในการควบคุม  เสริมทักษะการควบคุมตนเอง 
10.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ  ไม่มีสิ่งกระตุ้นเรื่องเกม
11.จัดกิจกรรมให้ใช้เวลาที่เคยเล่นเกม  เป็นกิจกรรมที่สนุกอย่างอื่น  อย่าปล่อยให้ว่าง

เเหล่งที่มาhttp://www.psyclin.co.th/new_page_46.htm

เด็กติดเกมคืออะไร?
เด็กติดเกมคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ชิดหรือตัวเราเองติดเกมหรือไม่รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัย
ลักษณะของเด็กติดเกม
1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆชั่วโมงหรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน
2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นก้าวร้าว
3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
4. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้านแยกตัว เก็บตัว ฯลฯ
เเหล่งที่มา http://game.sanook.com/952807/