วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ครอบครัว ภูมิคุ้มกันเด็กติดเกม





เด็กติดเกมกลายเป็นปัญหาของสังคมในปัจจุบัน ที่หลายครอบครัวกำลังประสบและไม่รู้จะแก้ปัญหาเรื้อรังนี้อย่างไรเด็กติดเกม ตามคำนิยามศัพท์ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการเล่นเกมสูง เล่นวันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน และให้ความสนใจกับเกมมากกว่าสิ่งอื่นๆ เช่น ครอบครัว การบ้าน กีฬา หรือสุขภาพของตนเอง เป็นต้น

           สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวที่มีเด็กติดเกมทั้งด้านบวกและด้านลบ คณะผู้วิจัยพบว่า ปัจจัยหลักที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเด็กติดเกม คือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลลูก ปัจจัยส่งเสริม คือ ตัวของเด็กที่ต้องการการยอมรับจากเพื่อนๆ จากการได้อวดว่า
เล่นเกมในระดับที่สูงขึ้น ยากขึ้นได้ ส่วนผู้ปกครองที่ใช้วิธีการลงโทษที่แตกต่างกันไป เช่น งดดูโทรทัศน์ งดเล่น
คอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ ให้ช่วยเหลืองานบ้าน ท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ผลจากการลงโทษด้วยวิธีนี้ เด็กจะไม่มีการต่อต้านและจะมีสำนึกยอมรับการลงโทษนั้นแต่โดยดี

     จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า แนวทางที่จะสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมการติดเกมของเด็กได้ คือสร้างความสนใจในกิจกรรมอื่นที่สามารถแบนความสนใจของเด็กได้โดยต้องส่งเสริมให้เด็กหันมาให้เวลากับกิจกรรมอื่นๆ แทนการเล่นเกม เช่น การวาดภาพ เล่นดนตรี การท่องคำศัพท์ เล่นกีฬา หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งผู้ปกครองสามารถส่งเสริมให้เด็กไปแข่งขันหรือเข้าประกวดได้ คณะผู้วิจัยย้ำว่าวิธีการดังกล่าวข้างต้นสามารถลดพฤติกรรมการติดเกมของเด็กได้เป็นอย่างดีและยังช่วยลดช่องว่างของผู้ปกครองกับเด็กได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากทั้งเด็กและผู้ปกครองมีความใกล้ชิดและมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันมากขึ้นสำหรับโรงเรียนควรจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมไม่ให้เด็กหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกม และทางรัฐบาลควรจะจัดบริการทางสังคมในแง่กิจกรรมทางเลือก เช่น ลานกีฬา ห้องสมุด สวนสาธารณะให้เพียงพอและและเข้าถึงได้ง่าย

เเหล่งที่มา http://nctc.oncb.go.th/new/index.php?option=com_content&view=article&id=1029%3A2555-01-30-04-m-+++s&catid=239%3Aall-content&Itemid=270

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น